ชงรัฐบาลใหม่ไฟเขียว สร้างมอเตอร์เวย์เชื่อมสนามบินอู่ตะเภา

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า เตรียมเสนอรัฐบาลใหม่เห็นชอบอนุมัติการก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 7 (M7) ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 1.92 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 4,508 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงาน 4,400 ล้านบาท และค่าเวนคืน 108 ล้านบาท ขณะนี้ได้เจรจาแหล่งเงินกู้กับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) เรียบร้อยแล้ว สัดส่วนเงินกู้ 80% หรือ 3,520 ล้านบาท และ เงินงบประมาณ 20% หรือ 880 ล้านบาท

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า โดยเรื่องเงินกู้ได้บรรจุในแผนเงินกู้แล้ว ส่วนเงินงบประมาณได้จัดตั้งงบประมาณปี 67 จำนวน 880 ล้านบาท และ รอ พ.ร.บ.งบประมาณปี 67 ผ่าน คาดจะประกาศใช้ประมาณเดือน มี.ค.67 จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการประกวดราคาหาผู้รับจ้าง โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ADB ซึ่งจะคัดเลือกผู้รับเหมาที่มีศักยภาพ ประสบการณ์ ผลงาน เงินทุนจดทะเบียน และดำเนินการเป็นไปตามระเบียบสิ่งแวดล้อม คาดว่าเดือน ส.ค.-ก.ย.67 จะได้ตัวเอกชนผู้รับจ้าง จากนั้นจะก่อสร้างภายในปี 67 แล้วเสร็จปี 69 ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 2.5 ปีคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

รานงานข่าวแจ้งว่า มอเตอร์เวย์หมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา จุดเริ่มต้นที่ประมาณ กม.148+328 มอเตอร์เวย์หมายเลข 7 ช่วงพัทยา-มาบตาพุด ถัดจากด่านเก็บเงินอู่ตะเภา มุ่งหน้าทิศใต้ข้ามทางรถไฟสายตะวันออก ขนานกับแนวรถไฟความเร็งสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีจุดสิ้นสุดเป็นทางแยกต่างระดับบริเวณจุดตัด ทล.3 (ถนนสุขุมวิท) เชื่อมต่อกับถนนโครงข่ายเชื่อมเข้าอาคารผู้โดยสารแห่งใหม่สนามบินอู่ตะเภาคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

รูปแบบโครงการจะก่อสร้างทางยกระดับแนวใหม่ขนาด 4 ช่องจราจร ตามมาตรฐานทางหลวงพิเศษที่มีการควบคุมการเข้าออกอย่างสมบูรณ์ และมีทางบริการระดับพื้น เพื่อรองรับการสัญจรผู้ใช้เส้นทางบริเวณใต้ทางยกระดับ รวมทั้งก่อสร้างช่องทางเลี้ยว และทางแยกต่างระดับบริเวณจุดตัด ทล.3 พร้อมปรับปรุง ทล.3 ขยายจาก 4 ช่องจราจร เป็น 8 ช่องจราจร

เมื่อแล้วเสร็จจะช่วยย่นการเดินทางสู่สนามบินอู่ตะเภาจาก 5 กม. เหลือ 1.92 กม. โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง เนื่องจากส่วนต่อขยายอยู่นอกบริเวณด่านอู่ตะเภา และไม่ได้สร้างด่านเพิ่ม โครงการนี้จะช่วยให้ประชาชนเดินทางเข้า-ออกสนามบินอู่ตะเภาได้อย่างสะดวก รวดเร็ว รองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ให้เป็นเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการบิน และเมืองธุรกิจที่สำคัญของไทย