คำเตือนนี้มาจาก นาย ดมิทรี เมดเวเดฟ อดีตประธานาธิบดีรัสเซียที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานสภาความมั่นคง ที่เชื่อว่าหากมีการส่งอาวุธนิวเคลียร์ไปประจำการในโปแลนด์จริง อาวุธเหล่านี้จะต้องถูกนำไปใช้อย่างแน่นอน นายเมดเวเดฟ ระบุว่า หากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นแกนนำชาติสมาชิกนาโต ทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าวของโปแลนด์ ก็อาจเป็นการจุดชนวนสงครามนิวเคลียร์ พร้อมทั้งเตือนว่า ประธานาธิบดี อันแซจ์ ดูดา และ นายกรัฐมนตรี มาเตอุส โมราเวียคกีของโปแลนด์จะถูกกำจัดทิ้งไปด้วยหากมีการใช้อาวุธนิวเคลียสู้รบกันคำพูดจาก สล็อต888
"พลายศักดิ์สุรินทร์" บินกลับไทย ภารกิจประวัติศาสตร์ในรอบหลายสิบปี
ศรีสุวรรณ จ่อร้อง! ป.ป.ช.เอาผิดจริยธรรมร้ายแรง ส.ส.ก้าวไกล ทำร้ายแฟนสาว
โดยข้อเรียกร้องดังกล่าว มีขึ้นระหว่างการประชุมผู้นำชาติสมาชิกสหภาพยุโรปหรืออียู เมื่อวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรีโมราเวียคกีของโปแลนด์เปิดเผยว่า ได้ยกระดับการผลักดันให้โปแลนด์ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการแบ่งปันอาวุธนิวเคลียร์ของนาโต นายกรัฐมนตรีโมราเวียคกี ระบุว่า ผู้ที่จะตัดสินใจในเรื่องนี้คือสหรัฐฯ แต่ย้ำว่าโปแลนด์จะไม่ยอมอยู่นิ่งเฉย ในขณะที่ ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ได้ยกระดับภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ โดยเมื่อเดือนที่แล้ว รัฐบาลรัสเซียเปิดเผยว่าอาวุธนิวเคลียร์ได้เริ่มส่งถึงมือเบลารุสซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันออกของโปแลนด์ และเป็นพันธมิตรสำคัญของรัสเซียในการทำสงครามกับยูเครน สำหรับข้อตกลงแบ่งปันอาวุธนิวเคลียร์ของนาโตป็นกรอบความร่วมมือซึ่งชาติสมาชิกที่มีอาวุธประเภทนี้ต้องจัดส่งให้กับเพื่อนสมาชิกที่มีความจำเป็นต้องใช้งาน แต่ไม่มีไว้ในครอบครัว ส่วนประเทศสมาชิกนาโตที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครองมีเพียงไม่กี่ประเทศ คือ สหรัฐฯ ฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร ส่วนประเทศสมาชิกที่ได้รับแบ่งปันอาวุธนิวเคลียร์ภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว ขณะนี้มีอยู่ด้วยกัน 5 ประเทศ คือเยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ อิตาลี และ ตุรกี ซึ่งมีหัวรบนิวเคลียร์รวมกัน 100 ลูก ทั้งหมดถูกส่งมาจากสหรัฐฯ ขณะเดียวกัน พลเอก มาร์ค มิลลีย์ ประธานเสนาธิการร่วมกองทัพสหรัฐฯ ได้แสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์การสู้รบ ระหว่างการพบปะกับสื่อมวลชนที่สโมสรผู้สื่อข่าวแห่งชาติในกรุงวอชิงตันเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยพลเอก มิลลีย์ ระบุว่า ไม่รู้สึกแปลกใจที่ปฏิบัติการของกองทัพยูเครนเพื่อยึดคืนดินแดนที่สูญเสียไปกลับคืนมาจะมีความคืบหน้าน้อยกว่าคาดการณ์ไว้ แต่เป็นการเดินหน้าดัวยความระมัดระวัง เพราะต้องเคลื่อนกำลังผ่านพื้นที่ที่ถูกวางกับระเบิดไว้หลายจุด พร้อมประเมินว่าปฏิบัติการรุกกลับน่าจะดำเนินไปอีกไม่น้อยกว่า 2 เดือนและจะสูญเสียกำลังทหารเป็นจำนวนมาก
ส่วนกระแสข่าวที่อ้างว่าสหรัฐฯ กำลังพิจารณาส่ง “คลัสเตอร์ บอมบ์” หรือระเบิดลูกปราย ให้แก่ยูเครนทั้งที่เป็นอาวุธต้องห้ามภายใต้สนธิสัญญาห้ามผลิตและจำหน่ายอาวุธดังกล่าว พลเอก มิลลีย์ ระบุว่า สหรัฐฯมีทุกวิธีการอยู่ในมือ แต่การตัดสินใจในเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของประธานาธิบดี โจ ไบเดน