นางอุมากมล สุนทรสุรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยปี 66 ที่สำรวจประชาชนทั่วประเทศว่า ผู้ตอบมากถึง 99.8% มีหนี้สิน มีเพียง 0.2% ที่ตอบว่า ไม่มีหนี้ มีหนี้สินรวม 559,408.70 บาทต่อครัวเรือน สูงสุดในรอบ 15 ปี นับจากปี 52 ที่มีหนี้สินรวม 143,476.32 บาทต่อครัวเรือน ขยายตัว 11.5% บาทต่อครัวเรือน เนื่องจากค่าครองชีพสูงขึ้น ซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ลงทุนเพิ่ม ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ผ่อนสินค้ามากเกินไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นอกจากนี้ยังมาจากสาเหตุการขาดรายได้จากการถูกออกจากงาน เล่นพนัน รวมถึงขาดวินัยทางการเงิน ขาดความรู้ทางการเงิน เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายเกินไป สถาบันการเงินให้วงเงินสูงเกินไป การลอกเลียนแบบการบริโภคของคนในสังคมออนไลน์ มีการกระตุ้นการใช้จ่ายต่อเนื่อง เช่น จัดโปรโมชันคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง อันดับ 1
ทั้งนี้ผู้ตอบมากถึง31.2%มีทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ นอกจากนี้ 54.7%ระบุมีหนี้เพิ่มมากกว่ารายได้ เพิ่มขึ้นจากปี62ที่ตอบเพียง37%ส่วนในอนาคต ผู้ตอบ60.4%คาดว่า หนี้จะเพิ่มมากกว่ารายได้ สูงกว่าปี62ที่ตอบเพียง33.4%ส่วนความสามารถในการชำระหนี้ มากกว่า50%สามารถชำระหนี้ได้น้อยถึงปานกลาง และบางส่วนไม่สามารถชำระได้ โดยหนี้ส่วนบุคคล กลุ่มที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพนักงานเอกชน รับจ้างทั่วไป และรายได้ต่ำกว่าเดือนละ15,000บาท
ขณะที่ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ผิดนัดชำระหนี้ และคาดว่า อีก 6 เดือนถึง 1 ปี มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ได้อีก เนื่องจากรายได้ลดลง เศรษฐกิจไม่ดี ตกงาน มียอดชำระเพิ่ม ดอกเบี้ยสูงจนผ่อนไม่ได้ ส่วนใหญ่คาดว่า อีก 1 ปีข้างหน้า หนี้สินจะลดลง ส่วนอีก 23.8% เท่าเดิม, 15.7% เพิ่มขึ้น และ 6.4% ไม่มีหนี้เลย
สำหรับข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน เช่น หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ,ให้ความรู้ในการบริหารหนี้ และการวางแผนใช้จ่าน,ฝึกอบรม เพิ่มทักษะวิชาชีพ,ให้ความรู้การใช้จ่ายอย่างพอเพียง,เพิ่มสวัสดิการให้ผู้มีรายได้น้อย,สถาบันการเงินควรคัดกรองการปล่อยกู้ หรือจำกัดวงเงิน
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า หนี้ครัวเรือนมีโอกาสสูงขึ้น และวงเงินก่อหนี้ น่าจะสูงสุดในช่วงปี 67 ส่วนหนี้ครัวเรือนในปี 66 สูงสุดจากที่ทำการสำรวจมาในรอบ 15 ปี มีผลพวงมาจากเศรษฐกิจไทยไม่ดี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และการระบาดของโควิด ตั้งแต่ปี 62-63 ทำให้คนก่อหนี้มากขึ้น และเศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าที่ควรจะเป็น ต่อให้มีการเลือกตั้ง ความแน่นอนทางเศรษฐกิจก็ยังไม่ชัด ทำให้คนคาดว่าต้องเผชิญกับปัญหาค่าครองชีพสูง รายได้ต่ำไปจนถึงต้นปีหน้า
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมแม้หนี้ครัวเรือนในปัจจุบันจะขึ้นไปแตะ 90% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) แต่แนวโน้มจีดีพีที่สูงขึ้น ประกอบกับ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัว และครัวเรือนไม่ตั้งใจจะก่อหนี้มากขึ้น จึงมองว่าหนี้ครัวเรือนไม่ใช่ปัญหารุนแรงต่อภาพรวมเศรษฐกิจ แต่เป็นปัญหาระดับบุคคล ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับสถาบันการเงิน กำลังเร่งแก้ไขอยู่ ขณะเดียวกัน รัฐบาลใหม่ต้องเร่งฟื้นเศรษฐกิจโดยเร็ว และมีโครงการพิเศษดูแลหนี้ประชาชน